เมนู

13. กิโลมกํ (พังผืด)


คำว่า กิโลมกํ คือ พังผืด เป็นเนื้อสำหรับหุ้มมี 2 ชนิด โดย
แยกเป็นพังผืดชนิดปกปิด และพังผืดชนิดที่ไม่ปกปิด พังผืดแม้ทั้งสองนั้น
ว่าโดยสี มีสีขาว ดังสีผ้าทุกูล (ผ้าทำด้วยเปลือกไม้) เก่า. ว่าโดยสัณฐาน
มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่ของตน. ว่าโดยทิศ พังผืดชนิดที่ปกติ เกิดในทิศเบื้องบน
พังพืดนอกนี้เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส พังผืดชนิดที่ปิด ตั้งหุ้มหัวใจ
และไตอยู่ พังผืดชนิดที่ไม่ปกติ ตั้งยึดเนื้อใต้หนังในสรีระทั้งสิ้น. ว่าโดย
ปริเฉท เบื้องล่างกำหนดด้วยเนื้อ เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง และเบื้องขวาง
กำหนดโดยส่วนที่เป็นพังผืด. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของพังผืด ส่วนวิสภาค-
ปริเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

14. ปิหกํ (ม้าม โบราณว่า ไต)


คำว่า ปิหกํ คือ เนื้อเป็นดังลิ้นอยู่ในท้อง ม้ามนั้น ว่าโดยสี มี
สีนิล (คือ สีน้ำเงินแก่) ดุจดอกคนทิสอ. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังลิ้น
ลูกโคดำ ยื่นออกไปประมาณ 7 นิ้ว. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่า
โดยโอกาส อาศัยตั้งอยู่ข้างบนพื้นท้องทางซ้ายของหัวใจ เมื่อมันออกมาข้าง
นอกเพราะถูกประหารด้วยเครื่องประหาร สัตว์ทั้งหลายก็จะสิ้นชีวิต. ว่า
โดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นม้าม. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของม้าม ส่วน
วิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

15. ปปฺผาสํ (ปอด)


คำว่า ปปฺผาสํ คือ ปอด แยกออกจะเป็นชิ้นเนื้อ 32 ชิ้น ปอด
นั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังผลมะเดื่อไม่สุกจัด. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดัง

ขนมชิ้นหนา ๆ ที่ตัดไม่เสมอกัน ส่วนภายในมันซีดเผือด เพราะถูกไอร้อนที่
เกิดแต่กรรมเผาผลาญโดยไม่มีสิ่งที่กินและดื่มเข้าไป เหมือนก้อนใบไม้ที่เขา
เคี้ยวกินแล้ว (เหลือแต่กาก) หารสและโอชะมิได้. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศ
เบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งห้อยปกคลุมหัวใจและตับ อยู่ระหว่างถันทั้ง 2
ในภายในสรีระ. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดด้วยส่วนที่เป็นปอด. นี้เป็นสภาค-
ปริจเฉทของปอด ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

16. อนฺตํ (ไส้ใหญ่)


คำว่า อนฺตํ ได้แก่ ไส้ใหญ่ สำหรับของผู้ชายยาวประมาณ 32 ศอก
ของผู้หญิงยาวประมาณ 28 ศอก เป็นไส้ทบ เพราะขดไปมาในที่ 21 แห่ง.
ไส้ใหญ่นั้น ว่าโดยสี มีสีขาวดังสีก้อนกรวดขาว. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐาน
ดังงู (ปลาไหลเผือก) ที่เขาตัดหัวขดไว้ในรางเลือด. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศ
ทั้ง 2. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในสรีระ มีคอและทวารหนักเป็นเขตแดน
โดยเนื่องเป็นอันเดียวกัน คือ เบื้องบนตั้งอยู่ที่หลุมคอ เบื้องล่างตั้งอยู่ที่
ทวารหนัก. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดส่วนที่เป็นไส้ใหญ่. นี้เป็นสภาคปริจเฉท
ของไส้ใหญ่ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

17. อนฺตคุณํ (ไส้น้อย)


คำว่า อนฺตคุณํ คือ ไส้ที่เป็นสายพันอยู่ในที่ขนดไส้ใหญ่ ไส้น้อย
นั้น ว่าโดยสี มีสีขาวดังรากจงกลนี. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังรากจงกลนี
นั่นแหละ. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส ไส้น้อยนั้นตั้งยึด
ขนดไส้ใหญ่ไว้เป็นมัดเดียวกัน ดุจสายเชือกเครื่องยนต์ที่ยึดแท่นยนต์ไว้ในเวลา